10 ข้อควรระวังก่อนซื้อเครื่องฉายโปรเจคเตอร์

1. ถูกไปไม่ดี
– ในตลาดมีเครื่องฉายราคา 2-3 พันมาจำหน่าย หากใช้ดูภาพยนตร์ที่บ้าน หรือจอไม่ใหญ่มากก็น่าใช้ แต่หากต้องการภาพที่คมชัดและสว่างจริง แนะนำให้ใช้เครืองที่เป็นแบรนด์ lumens แท้แน่นอน ค่าลูเมนส์ที่เห็นในสเปค เป็นค่าที่วัดจากหลอด กับค่าที่วัดทีฉากรับภาพ ก็สว่างไม่เท่ากัน

2. แพงไปไม่คุ้ม
– หากการใช้งานเพียงนำเสนอทั่วไป ห้องไม่กว้างมาก (30-50 ที่นั่ง) ความสว่าง 3000-3500 Lumens ก็ถือว่าเพียงพอ รวมทั้งหากซื้อเครืองมาแขวนเพดาน ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่มีฟังก์ชั่นอย่าง USB display  เพราะคงไม่สะดวกทีจะปีนขึ้นไป เสียบ USB Drive ที่หลังเครื่องทุกครั้ง หรือหากห้องมีขนาดใหญ่มาก ๆ ลำโพงที่มากับโปรเจคเตอร์ เสียงก็ไม่น่าใช้ เท่ากับการต่อไปออกเครื่องขยายเสียง

3. ‎อะไหล่ไม่ผ่าน
– หากจำเป็นต้องใช้เครื่องบ่อย เบิกเงินค่าซ่อมยาก มองหาเครืองที่เป็นแบรนด์มาตรฐาน ทนทานกว่า หาอะไหล่ได้ง่ายกว่า สบายใจกว่า แต่หากเป็นหน่วยงานทีเบิกงบซ่อมไม่ยาก ซื้อของง่าย ก็เลือกยี่ห้อที่ ถูกใจ ก็ได้ค่ะ

4. บริการไม่ถึง
– หากอยู่ กทม. ข้อนี้คงไม่เป็นประเด็น แต่หากอยู่ต่างจังหวัด มองหาตัวแทนจำหน่ายที่ดูแลเราได้ หรือแบรนด์ที่มีศูนย์บริการใกล้บ้านก็ดี มีบริการรับ-ส่งเครืองซ่อมที่บ้าน ยิ่งน่าสนใจ

5. ‎สว่างมากไปนิดนึง
– หลายครั้ง เรามักหลงประเด็นไปมองหาเครื่องฉายที่มีความสว่างสูง ๆ แต่หากนำไปใช้เป็น Home VDO แล้ว เครืองที่สว่างมากไปก็ทำร้ายสายตาได้ เลือกความสว่างให้เหมาะกับการใช้งานดีกว่า

6. ละเอียดไม่พอดี
– หากนำเสนอไฟล์รูปธรรมดา หรือ powerpoint เลือกเครืองที่ความละเอียดเป็น XGA คงพอได้ แต่หากเป็นงานออกแบบ เส้นต้องคม ภาพต้องกริบ หรือเน้น Excel เป็นหลัก ความละเอียด ตั้งแต่ WXGA – WUXGA น่าใช้กว่า เนื่องจากความละเอียดของโน้ตบุ๊คส่วนใหญ่ ในปัจจุบันก็เป็น WUXGA ทำให้สัญญาณที่รับส่งกันระหว่างต้นทางและปลายทางไม่ถูกบีบอัด  ภาพสวยเส้นคม กว่าแ่น่นอน

7. โฟกัสไปไม่ได้
– เคยเจอไหมที่เครื่องฉายราคาถูกมากแต่ภาพไม่ชัด ปรับโฟกัสยังไงก็ไม่ไป หรือซื้อเครืองฉายแบบ Ultrashort Throw ที่แนะนำใช้กับจอ 100 นิ้ว แต่มาฉายกับจอ 200 นิ้ว ภาพเบลอกันเป็นแถบ ก่อนซื้อลองถามใจตัวเองก่อนว่ารับได้ไหม เสียน้อยเสียยาก น่าเสียดายมาก ๆ หากต้องได้สิ่งที่ใช้งานไม่ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น

8. ระยะฉายไม่พอ
– บางครั้งหน้างานมีระยะห่างระหว่างจอกับเครื่องน้อยมาก การเลือกเครืองฉายจึงควรเลือกรุ่นที่เป็น เลนส์แบบ short throw หรือ Ultrashort throw เช็คขนาดจอกับระยะฉายก่อนทุกครั้ง

9. ไม่เหมาะกับการพกพา
– หากติดตั้งประจำห้องเครื่องฉายขนาดใหญ่คงไม่เป็นปัญหามากนัก แต่หากจำเป็นต้องเคลือนย้ายบ่อย ๆ หรือใช้งานเสร็จต้องรีบปิดเครือง ถอดปลั๊ก มองหารุ่น ทีเป็น instant off หรือระบายความร้อนได้เร็วก็ดีกว่า เลือกเครืองที่น้ำหนักไม่เกิน 2.5 กิโลกรัม ก็ทำให้เคลือนย้ายได้ง่ายขึ้น หรือตอนนี้โปรเจคเตอร์ที่แหล่งกำเนิดแสงเป็น  LED, Laser ก็เปิดปิดได้รวดเร็ว

10. สีภาพไม่ตรงใจ
– อันนี้ประเด็น DLP กับ LCD หากชอบตัวหนังสือ คมกริบ เกลี่ยสีดี ๆ DLP ได้เปรียบ แต่ถ้าชอบสีสดใส สู้แสงไฟได้ LCD จะเป็นตัวเลือกที่น่าใช้กว่า

Line SWMedia Facebook SWMedia

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *